แบบฝึกหัดบทที่ 1
1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้
พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
ตอบ
1.1. เทคโนโลยี
(Technology)
คือ การใช้ความรู้
เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน
ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง
ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง เทคโนโลยี
ที่ใช้ในชีวิตปะจำวัน เช่น พัดลม , โทรทัศน์
, โทรสัพ , คอมพิวเตอร์ , เครื่องปรับอากาศ , ตู้เย็น , กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
1.2. สารสนเทศ
(information)
คือ
เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น
สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย
ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค
ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล
รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ตัวอย่าง สารสนเทศ
ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สื่อต่างๆ, TV,การหาข้อมูลในคอพิวเตอร์ , การโอตังผ่านระบบออนไลน์, การใช้โทรสัพมือถือ การใช้ E-mail ฯลฯ
1.3. เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Technology, IT)
คือ เทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ
(คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว)
ซึ่งก็คือเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูล (ข้อมูล หมายถึง
ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล) เช่น การจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล
การสืบค้นข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การจัดการข้อมูล
เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาและความก้าวหน้าต่างๆ
ในชีวิตประจำวันของเรา
ตัวอย่าง เทคนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบATM เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้เอทีเอ็ม เนื่อกจาก ATM ให้บริการ24ชั่วโมง ส่วนธาคาร ให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น.หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว ทุกคนจึงหันมาใช้ตู้ATM กันหมด เพื่อความสะดวกสบาย
ตัวอย่าง เทคนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบATM เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้เอทีเอ็ม เนื่อกจาก ATM ให้บริการ24ชั่วโมง ส่วนธาคาร ให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น.หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว ทุกคนจึงหันมาใช้ตู้ATM กันหมด เพื่อความสะดวกสบาย
1.4. ข้อมูล
(Data)
คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง
ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่
ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะ
ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
ตัวอย่าง ข้อมูล เช่น การรับรู้ข้อมูลทางตา เช่น การมองเห็น,
การรับรู้ทางหู เช่น การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู, การรับรู้ทางมือ
เชน การสัมผัสกับข้อมูล, การรับรู้ทางจมูก เช่น การได้กลิ่น,
การรับรู้ทางปาก เช่น การรู้สึกถึงรสฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะ
ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
1.5. ฐานข้อมูล (Database)
คือ กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน
นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น
ต้องตรงตามวัตถุประสงค์
ตัวอย่าง ฐานข้อมูล เช่น ระบบธนาคาร คือ การฝากตัง-การโอนตัง, ระบบการจองตั๋วรถทัวร์ คือ การจองที่นั่ง
2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
ระดับล่างสุดหรือ (Transaction Processing) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลรายการต่าง
ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก ๆ ในการทำงานประจำวัน
จัดว่าเป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
สำหรับสร้างหรือจัดรูปแบบใหม่ ในรูปของรายงานที่จะเสนอระดับสูงต่อไป
เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น
:ระดับที่สอง (Operation Control) หมายถึง
การใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับล่าง เพื่อใช้ในการวางแผน
การควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
:ระดับที่สาม (Management Control) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้
:ระดับที่สี่ หรือ (Strategic Planning) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์ เช่น ในอีก 5 ปี ข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด
:ระดับที่สาม (Management Control) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้
:ระดับที่สี่ หรือ (Strategic Planning) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์ เช่น ในอีก 5 ปี ข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด
การ
จัดโครงสร้างทั้งสี่ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่าการใช้สารสนเทศแยกกันโดยเด็ด
ขาดแต่เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาว่าผู้บริหารแต่ละระดับมีความ
ต้องการข้อมูลที่ต่างกัน
ในแต่ระดับอาจต้องการสารสนเทศที่จัดเตรียมขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า
หรือบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูล
ปัจจุบันมีการกล่าวถึงวิธีการรื้อปรับระบบองค์กรใหม่
ในรูปแบบที่เรียกว่า business reinvention กล่าวคือ การปรับปรุงและสร้างค์องค์กรใหม่
โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในองค์กร
สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง
เราแบ่งระดับสารสนเทศออกเป็น 4 ระดับคือ ระดับส่วนบุคคล ระดับกลุ่มหรือแผนก
ระดับองค์กรและระดับระหว่างองค์กร โดยทุกระดับจะเกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อประกอบกัน
และให้ได้ประโยชน์จากสารสนเทศ ประกอบด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ได้แก่
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ชั้นตอนการปฏิบัติงาน ได้แก่
กฏระเบียบต่าง ๆ และตัวบุคลากรเอง
ศูนย์สารสนเทศขององค์กร
คือหน่วยงานที่จะบริหารและจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ที่ต้องลงทุนทั้ง 5 องค์ประกอบนี้
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ศูนย์สารสนเทศขององค์กรตามแนวความคิดใหม่
จึงต้องประสานกับธรรมชาติของการทำงานขององค์กรที่มีบุคลากรเป็นแกนนำ
เพราะบุคลากรทุกคนย่อมเป็นผู้ใช้สารสนเทศ และยังต้องมองเลยไปเป็นระดับกลุ่ม
ระดับองค์กร และระดับระหว่างองค์กร
การทำงานในทุกระดับจะต้องประสานการใช้ประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้สูงสุด
ลักษณะและจุดมุ่งหมายของศูนย์สารสนเทศ
คอมพิวเตอร์มีการพัฒนาการมาจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง
โดยการใช้ประโยชน์จึงเริ่มจากการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันในอดีต
มีศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาพีซี
แนวคิดจึงเริ่มจากการพัฒฒนาให้ระบบใช้งานส่วนตัว
และต่อมาพัฒนาเป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน
ดังนี้นลักษณะของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์จึงมีลักษณะตามสภาพของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยี
โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล ระบบเครือข่าย
รูปแบบการช้ระบบคอมพิวเตอร์จึงมีรูปแบบดังนี้
การใช้แบบเครื่องหลัก (Host base) ในยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาแพง
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเมนเฟรม ซึ่งมีการจัดการฐานข้อมูลอยู่ส่วนกลางและแบ่งการใช้งาน
เครื่องคอมพิวเตอร์หลักเป็นเครื่องที่รวมทรัพยากรทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง
ผู้ใช้เพียงแต่ต่อสายออนไลน์ และใช้กำลังการคำนวณทั้งหมดจากเครื่องหลักสถานีปลายทางจึงเป็นเพียงแค่เทอร์มินัลเท่านั้น
รูปที่ 1 การใช้งานแบบเครื่องหลัก
เพื่อเป็นการสนับสนุนข้อมูลข่าวสารขององค์กร
· การใช้งานแบบเครื่องเดี่ยว
(stand alone) เมื่อมีการพัฒนาพีซีให้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จึงมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สนับสนุนพีซีให้ช่วยงานระดับบุคคล
ดังนั้นการประยุกต์ใช้งานระดับบุคคลจึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์พื้นฐนที่เรียกว่าโปรแกรมสำเร็จรูปให้ใช้งานได้มาก เช่น
ใช้ช่วยในการพิมพ์เอกสารหรือเรียกว่า เวิร์ดโปรเซสเซอร์ ใช้คำนวณบนตารางที่เรียกว่า สเปรตซีตใช้ในการเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลขนาดเล็ก
ใช้เพื่อนำเสนอผลงาน
รูปที่ 2 เครื่องพีซีทำให้เกิดระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
· ระบบแลนและไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์ เมื่อพีซีมีขีดความสามารถสูงขึ้น
ประกอบกับเทคโนโลยีได้พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมโยงเข้าถึงกัน
และใช้งานร่วมกัน ระบบแลนที่ใช้จึงเริ่มจากการสนับสนุนงานระดับกลุ่ม
ระดับแผนกที่มีการทำงานร่วมกัน ใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน เช่น ใช้ไฟล์ใช้ข้อมูล ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
ตลอดจนเครื่องพิมพ์ร่วมกัน สภาพการทำงานบนเลนส่วนหนึ่งมีลักษณะการทำงานแบบ
ไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์ กล่าวคือมีสถานีบริการกลางที่ให้บริการร่วมกันทั้งกลุ่ม
โดยผู้ใช้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีของตนเองเชื่อมโยงกับเครือข่ายแลน เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เรียกว่า ไคลแอนด์ ส่วนสถานีบริการกลางเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ เช่น
ถ้ามีระบบฐานข้อมูลกลางที่ให้บริการกลางร่วมกันก็เรียกว่า ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องไคลแอนต์เรียกค้นข้อมูลข่าวสารจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได
้รูปแบบการทำงานแบบนี้จึงเป็นการลดขนาดของเซิร์ฟเวอร์ลงจากโฮสเบส
เพราะสถานีย่อยคือไคลแอนต์สามารถช่วยดำเนินการบางอย่างเองได้
และการทำงานในระดับไคลแอนต์ที่สำคัญคือ
มีส่วนช่วยในการติดต่อกับผู้ใช้ที่จะแสดงผลแบบกราฟฟิก
รูปที่ 3 เครือข่ายแลนสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม
· การเชื่อมต่อแลนเป็นอินทราเน็ต เมื่อนำเวอร์กกรุ๊ปหรือเครือข่ายแลนย่อย
ๆ หลายเครือข่ายต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายขององค์กร
มีเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารหลักที่เรียกว่าแบคโบน (backbone) เครือข่ายนี้จึงเป็นเครือข่ายที่สนับสนุนการทำงานขององค์กร
ซึ่งอาจเรียกว่าเอ็นเตอร์ไพรสเน็ตเวอร์กหรืออินทราเน็ต
ในระดับองค์กรจึงมีการบริหารจัดการเครือข่ายขององค์กร มีหน่วยงานดูแลเครือข่ายกลาง
และดูแลทรัพยากรที่สนับสนุนการใช้งานในองค์กร ลักษณะการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอาจข้ามออกไปยังหน่วยงานที่อยู่ห่างไกล
โดยเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายสาธารณะแบบแวน (wan) สภาพ
การทำงานภายในองค์กรยังมีลักษณะการใช้ทรัพยากรร่วมกันมีสถานีบริการที่เรียก
ว่าเซิร์ฟเวอร์
ผู้ใช้ใช้พีซีที่ต่ออยู่บนเครือข่ายเชื่อมโยงเรียกใช้บริการเครื่อง
เซิร์ฟเวอร์
ภายในองค์กรอาจมีฐานข้อมูลเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์กลางหรืออาจจะมีหลาย
เซิร์ฟเวอร์กระจายกันอยู่ก็ได้
ลักษณะการใช้งานบนเครือข่ายจึงสนับสนุนการทำงานตั้งแต่งานในระดับบุคคลที่
ใช้พีซีของตนเองเป็นหลัก
เชื่อมต่อใช้งานร่วมกันเป็นเครือข่ายในแผนก ในกลุ่มงานของตน
ใช้สถานทีบริการเซิร์ฟเวอร์ในแผนกของตน
และยังเชื่อมโยงกับองค์กรใช้งานในลักษณะร่วมกับส่วนกลางขององค์กร
ดังนั้นทุกคนในองค์กรที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายจึงสามารถเลือกใช้ทรัพยากร
คอมพิวเตอร์ข้อมูลข่าวสารทั้งของกลุ่มและขององค์กรได้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ภายในองค์กรต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน
เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้อีกด้วย
ในเชิงเทคนิคนั้นระบบสารสนเทศระดับองค์กรจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลแฟ้ม
ข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันไว้ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์
มีการใช้เครือข่ายแลนเชื่อมโยงเครื่องมือพื้นฐาน
อีกประการหนึ่งของระบบข้อมูลข่าวสาร คือระบบจัดการฐานข้อมูล
ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สำคัญในการช่วยดูแลระบบข้อมูลและการประยุกต์ใช้งานด้าน
ต่าง ๆ
รูปที่ 4 การใช้เครือข่ายเพื่อสนับสนุนการทำงานในองค์กร
· การเชื่อมโยงระหว่างองค์กร การบริหารและการจัดการระบบสารสนเทศสมัยใหม่
ยังเน้นให้เกิดการทำงานแบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (eBusiness) และมีการค้าขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าางองค์กรเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน
และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน การเชื่อมโยงระหว่างกันในปัจจุบัน
เน้นการใช้เส้นทางร่วมแบบสาธารณะ เช่น ใช้อินเทอร์เน็ต
ลักษณะการเชื่อมโยงออกสู่ภายนอก จึงมีลักษณะที่ต้องการสร้างวงจรเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร
หรือการวิ่งผ่านเส้นทางสาธารณะร่วมกัน
รูปที่ 5 การเชื่อมโยงระหว่างองค์กร
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายสากลที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยขององค์กรจำนวนมหาศาลเข้าด้วยกัน
ทำให้ทุกองค์กรที่เชื่อมโยงเข้าถึงอินเทอร์เน็ตติดต่อถึงกันได้
และหากถ้ามีองค์กรใดสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงต่อออกไปภายนอก
โดยเน้นการทำงานในขอบเขตจำกัด เช่น ให้บริการลูกค้าติดต่อเข้ามาได้ และไม่สามารถออกไปนอกเครือข่ายอย่างอิสระเหมือนอินเทอร์เน็ต
เราก็เรียกว่า เอ็กซ์ทราเน็ต
ศูนย์สารสนเทศกับองค์กร
ในองค์กรมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลายระดับ
ดังนั้นการจัดประเภทของศูนย์สารสนเทศ จึงต้องเน้นให้สนับสนุนการทำงานทุกระดับ
ศูนย์สารสนเทศจึงมีลักษณะที่แบ่งตามประเภทการใช้งานดังนี้
· ศูนย์สารสนเทศสนับสนุนการทำงานระดับกลุ่ม จากการใช้งานในระดับเวอร์กกรุ๊ป
ที่มีการจัดการเซิร์ฟเวอร์ของตนเองภายในแผนกหรือกลุ่มจึงต้องรับผิดชอบงานทางด้านสารสนเทศของตนเอง
เช่น งานแผนกบุคคล ต้องดูแลฐานข้อมูลพนักงานทั้งหมด ดูแลการดำเนินงานเพื่อการทำงานการเงินเดือน
แผนกขายก็ต้องดูแลฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลสินค้าคงคลังของตนเอง
การกระจายศูนย์สารสนเทศลงไป ในระดับกลุ่มทำให้มีความสะดวกในการปฏิบัติงาน
สามารถดำเนินงานด้วยความคล่องตัว
แต่มีปัญหาในเรื่องความซ้ำซ้อนของข้อมูลระหว่างกลุ่ม และยุ่งยากในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสาร
· ศูนย์สารสนเทศส่วนกลาง สืบเนื่องจากองค์กรมีการสร้างเครือข่ายหรือมีระบบข้อมูลข่าวสารร่วม
ดังนี้ศูนย์สารนิเทศส่วนกลางจึงมีความจำเป็นที่จะทำให้ระบบการใช้ข้อมูล ข่าวสาร
ในลักษณะการใช้งานร่วมกัน ทำให้สะดวกขึ้น และยังบริหารเครือข่ายหรือช่วยในเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กร
ความสำเร็จอยู่ที่การจัดการโครงสร้างในองค์กร
รูปแบบการบริหารสารสนเทศในองค์กรจึงเป็นได้
ทั้งแบบรวมศูนย์เหมือนในอดีต
แต่ในสภาพปัจจุบันความต้องการใช้สารสนเทศมีความหลากหลาย และมีความแตกต่างกันมาก
ตั้งแต่ระดับส่วนตัวจนถึงระดับระหว่างองค์กร ดังนั้นความสำเร็จขององค์กรจึงอยู่ที่
การบริหารและการจัดการโครงสร้างสารสนเทศ ให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานขององค์กร
ซึ่งสามารถแยกกระจายตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม ระดับองค์กร และระหว่างองค์กร
การเลือกสภาพที่เหมาะสมต่อการใช้งานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น